วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2561

กิจกรรมบทที่ 7

กิจกรรมบทที่ 7
สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่องแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร
โอลิวาเป็นคนแรกที่ใช้คำว่าแบบจำลอง (Model) ในการพัฒนาหลักสูตร จะมีการกำหนดกรอบแนวคิดและเกณฑ์ที่ใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร โดยที่แบบจำลองจะต้องแสดงองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
1.องค์ประกอบหลักของกระบวนการ
2.การปฏิบัติที่ชัดเจน
3.ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสูตรและการสอน
4.จุดมุ่งหมายเฉพาะที่แตกต่างระหว่างหลักสูตรและการสอน
5.การแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง
6.วัฎจักรความสัมพันธ์ไม่เพียงแต่แสดงนัยลำดับขั้นตอน
7.เส้นแสดงการให้ข้อมูลย้อนกลับ
8.ความเป็นไปได้ที่จุดเริ่มต้นที่ตำแหน่งใดก็ได้ในวงจร
9.ความเป็นเหตุเป็นผลและความแน่นอนภายในแบบจำลอง
10.ให้ความคิดที่มีความเรียบง่าย
11.องค์ประกอบแสดงความสัมพันธ์ในรูปแบบไดอะแกรมหรือแผนภาพ
ประการสำคัญแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรจะต้องทำหน้าที่ 
1) ให้คำแนะนำการติดตามของระบบและ 
2) ให้กรอบแนวคิดในการอธิบายองค์ประกอบของกระบวนการในการปรับปรุงหลักสูตร
กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดแบบจำลอง SU Model



กระบวนการพัฒนาหลักสูตร (สามเหลี่ยมใหญ่) จะประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำหลักสูตร  (สามเหลี่ยมเล็กๆ  4 ภาพ) โดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
สามเหลี่ยมแรก เป็นการวางแผนหลักสูตร (Curriculum Planning) อาศัยแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ คำถามที่หนึ่งคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร มีการกำหนดจุดหมายของหลักสูตร
สามเหลี่ยมรูปที่สอง เป็นการออกแบบ (Curriculum Design) ซึ่งจะนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร มาจัดทำกรอบการปฏิบัติ หลักสูตรที่จัดทำขึ้นจะมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามกระบวนการของหลักสูตร และหรือมีผลสัมฤทธิ์ตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สองของไทเลอร์ คือ มีประสบการณ์ศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายในการศึกษา การออกแบบหลักสูตรมีสาระสำคัญทั้งในด้านกระบวนการ และด้านการพัฒนาผู้เรียน หรือการออกแบบหลักสูตรมุ่งเน้นความรู้ตามหลักสูตรหรือเนื้อหาสาระ และผลผลิตของหลักสูตร การออกแบบหลักสูตรก็เพื่อให้มีกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ตอบสนองจุดหมาย (aim) และจุดมุ่งหมาย (goal) ของหลักสูตร
สามเหลี่ยมรูปที่สาม เป็นการจัดระบบหลักสูตร (Curriculum Organize) ซึ่งจะสังเกตเห็นว่ารูปสามเหลี่ยมนี้กลับหัวคล้ายเงาสะท้อนของสามเหลี่ยมรูปแรก ในทางปฏิบัติการจัดระบบหลักสูตรเพื่อให้ตอบสนองการวางแผนหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สามของไทเลอร์ คือจัดประสบการณ์เรียนรู้อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ในที่นี้การจัดระบบหลักสูตรให้ได้ประสิทธิภาพมีความหมายรวมถึง การบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ กล่าวคือ กระบวนการบริหารที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ ที่มีประสิทธิผลมีประสิทธิภาพ รวมถึงการนิเทศการศึกษา การนิเทศการสอนจะมีบทบาทสำคัญเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอยู่ร่วมกันในสังคม
สามเหลี่ยมรูปที่สี่ การประเมิน (Curriculum Evaluation) เป็นการประเมินทั้งระบบหลักสูตรและผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร สอดคล้องกับคำถามที่สี่ของไทเลอร์ คือ ประเมินประสิทธิผลของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร เพราะว่าการประเมินผลการเรียน ความรู้และการจัดการเรียนการสอนจะทำให้นักเรียนได้ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในสังคม
การสร้างแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิด SU Model
SU Model คือ แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งมีลำดับขั้นในการสร้างแบบจำลองดังนี้
พื้นฐานแนวคิดและที่มาของแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร SU model เป็นองค์ความรู้ที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง เพราะได้รับการพัฒนามาจากสามเหลี่ยมมุมบนซึ่งเป็น สัญลักษณ์ของคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยสามเหลี่ยมมุมบนมาจากการที่ มล.ปิ่น มาลากุล อธิการบดีและรักษาการคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ได้ให้แนวนโยบายการพัฒนานักศึกษา มุ่งเน้นให้การศึกษา 3 ส่วน คือ จริยศึกษา เป็นการอบรมศีลธรรมอันดีงาม พุทธิศึกษา ให้ปัญญาความรู้ และพลศึกษา เป็นการฝึกหัดให้เป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ แนวคิดดังกล่าวนี้เมื่อนำมาพิจารณาถึงเป้าหมายการศึกษา ที่มุ่งการเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข เมื่อนำมาปรับใช้กับเป้าหมายในการพัฒนาหลักสูตร จะได้ว่า เป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งให้ความรู้ (knowledge) ก็คือมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง เป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน (learner) ก็คือมุ่งให้เป็นคนดี และเป้าหมายของหลักสูตรที่มุ่งสังคม (society) ก็มุ่งหวังให้สังคมเป็นสุข ซึ่งกระบวนการพัฒนาหลักสูตรให้ความสำคัญกับพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรในที่นี้จะประกอบไปด้วย 3 ด้าน นั่นคือ ด้านปรัชญาการศึกษา ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม ซึ่งแต่ละด้านก็จะมีปรัชญาแต่ละชนิดกำกับ มีการพัฒนาจากรูปสามเหลี่ยมที่นำไปสู่การวางแผนหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินหลักสูตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เกี่ยวกับบล็อก

นางสาวมณีรัตน์  โพธิ์ศรี 613150610566 ชั้นปีที่ 2 ห้อง 1 สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ภาคเรียนที่ 1 ปีก...