1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เรื่อง การพัฒนามนุษย์ การศึกษา การเรียนรู้และหลักสูตร
การศึกษาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่กับการเรียนรู้เสมอ
ทั้งความสำคัญของการเรียนรู้จะทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้และเป็นผู้รับการฝึกอบรมให้พัฒนาขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองเพื่อมีชีวิตอยู่รอดส่วนหนึ่ง
และเรียนรู้ได้โดยกระบวนการศึกษาอบรมอีกส่วนหนึ่ง
เป้าหมายที่สำคัญของการศึกษา คือ
การเปลี่ยนผู้เรียนจากผู้ไม่รู้
สู่ผู้รู้
และเห็นได้จากการมีวิธีคิด
จิตสำนึก
ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อตอนที่ยังไม่รู้และเกิดพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า
การศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้นสร้างผู้เรียนให้เป็นเพียงผู้จำอย่างเดียวและเป็นเพียงการจำเพื่อไปสอบและเพื่อไปแข่งขัน สร้างให้ผู้เรียนมีสภาพเป็นตำราที่เดินได้ โดยไม่ได้นำเอากระบวนการ “การเปลี่ยนคน
สร้างสรรค์สังคม”
มาเป็นเป้าหมายสำคัญของการศึกษา
ทำให้การศึกษาเป็นประหนึ่งคำที่หลวงพ่อพุทธทาสกล่าวว่า “การศึกษา หมาหางด้วน” ที่ขาดมรรควิธีในการพัฒนา “คน” เพื่อความเป็น “มนุษย์” ที่สมบูรณ์ มีความรู้คู่คุณธรรม
ความหมายของการศึกษากับการพัฒนาความเป็นมนุษย์
การศึกษา หรือ “Education” มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า
“Educare” มีความหมายตรงกับคำว่า “Bring up” หมายถึง
การดึงออก การศึกษามิใช่การใส่เข้าไป (put in) แต่หมายถึง
การดึงเอาความรู้ หรือสิ่งที่มีอยู่ในผู้เรียนออกมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด (สนิท
ศรีสำแดง,มปพ.)
ตาม ทัศนะนี้ถือว่า
ผู้เรียนทุกคนมีความรู้ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่แล้ว
การศึกษาจึงเป็นเพียงการพัฒนาสิ่งที่มีอยู่แล้วนั้นให้เจริญงอกงามขึ้นเท่า นั้น
ตามแนวความคิดนี้ผู้สอนจึงมีฐานะเป็นเพียงGuide
คือ ผู้ชี้แนะแนวทางเท่านั้น ซึ่งตรงกับที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า
ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกเท่านั้น เรื่องการปฏิบัติหรือไม่นั้นเป็นเรื่องของท่าน
(อกฺขาตาโร ตถาคตา)
การศึกษาคือการพัฒนาความเป็นมนุษย์
ใน 3 ด้าน
ได้แก่ ด้านพฤติกรรม พัฒนาได้ด้วยศีล ด้านจิตใจ
พัฒนาได้ด้วยสมาธิ และด้านความรู้ พัฒนาได้ด้วยปัญญา ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน เพราะเป็น 3 ด้านของชีวิตที่ไม่อาจแยกขาดจากกันได้
การ
พัฒนาในลักษณะนี้จะเป็นการพัฒนาอย่างประสานกลมกลืนส่งผลเกื้อกูลกันไปด้วยดี
ทั้งระบบตามแนวพุทธจริยธรรม ที่เป็นเรื่องที่คอบคลุมทั้งพฤติกรรม จิตใจ และปัญญา
เป็นการพัฒนาชีวิตทั้งหมด (พระธรรมปิฏก (ปอ.ปยุตฺโต),2540
หน้า 142-146)
ความรู้คู่คุณธรรม
การ
ศึกษาจะต้องมีการพัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน คือ
การพัฒนาผู้เรียนให้ครอบคุลมในหลายมิติ ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
สังคมและอารมณ์ ทั้งนี้ ตามรายงานขององค์การยูเนสโกเรื่องการศึกษาคือขุมทรัพย์ภายใน
(Learning: The
Treasure Within) (องค์การยูเนสโก. 1996 (2539)) ที่กำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับคริสต์ศตวรรษที่
21 ได้เสนอจตุสดมภ์การศึกษา (Four Pillars of
Education) กล่าวคือความสมบูรณ์ของการศึกษาประกอบด้วยเสาหลักการศึกษา
4 ประการ (พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), 2546
หน้า 5) ได้แก่
1. การศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพ (Learning
to Know) ได้แก่ การเรียนเพื่อรู้
หมายถึงการเรียนเพื่อเตรียมเครื่องมือสำหรับการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต เช่น
คนไทยต้องเรียนภาษาไทยให้อ่านออกเขียนได้เพื่อจะได้เรียนต่อในระดับที่สูง ขึ้นไป
หรือการเรียนด้านภาษาสากล การเรียนคอมพิวเตอร์
เพื่อเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาความรู้
เนื่องจากข้อมูลความรู้ได้บรรจุไว้ในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเขียนเป็นภาษา สากล (ภาษาอังกฤษ)
เสา
หลักการศึกษาประการแรกนี้ ยังรวมถึงการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจผู้เรียน
ให้มีความพร้อมเพื่อการศึกษาต่อ ได้แก่การเรียนการสอนที่เกิดความสนุก อยากเรียน
รักที่จะเรียนรู้ มีความสุขในการเรียนและการแสวงหาความรู้
เพราะการมีสุขภาพจิตที่ดี
2. การศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถภาพ (Learning
to do) ได้แก่ เรียนเพื่อทำได้ สมรรถภาพ คือ
ความสามารถในการนำความรู้มาปฏิบัติให้บรรลุผลตามความมุ่งหวัง
การเรียนเพื่อให้ทำได้ก็คือการเรียนเพื่อใช้ความรู้ในการทำงาน การประกอบอาชีพ
ซึ่งเป็นผลของการเรียนที่มุ่งเน้นการปฏิบัติ
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องพัฒนาคนให้มีความสามารถหลากหลาย (Personal
competence) สามารถ
ทำงานได้หลายอย่างโดยอาศัยเครื่องจักรลดกำลังแรงกาย
และอาศัยคอมพิวเตอร์ลดกำลังสมองในการคิด
รวมทั้งความสามารถในการทำงานร่วมกับคนอื่นได้อย่างมีความสุข
เพื่อเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมให้เข้มแข็ง นั่นก็คือทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ (People
Skills) ของผู้เรียน และความสามารถในการบริหารจัดการ
การมีคุณธรรมภายในจิตใจ เช่น ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตว์ การตรงต่อเวลา เป็นต้น
3. การศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพ (Learning
to live together) ได้แก่การใช้ความรู้ความสามารถเพื่อสังคมส่วนรวม
เสาหลักการศึกษา 2 ประการ
แรกเป็นการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียนเก่งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
ในประการที่สามนี้เป็นศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนใช้ความรู้ความสามารถใน
การทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพด้วยการสร้างสรรค์ประโยชน์ให้แก่สังคม
นั่นก็คือการเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกันฉันญาติมิตร
โลกในศตวรรษที่
21
จะมีความขัดแย้งและนำไปสู่ความรุนแรงค่อนข้างสูง จากสาเหตุหลักของความขัดแย้ง คือ
ความนิยมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยการพลีชีพเพื่อให้อีกฝ่ายตายตามไปด้วย
โลกมีการแข่งขันกันในทุก ๆ ด้านสูง ซึ่งการแข่งขันมีเป้าหมายเพื่อชัยชนะ
ทุกภาคส่วนของสังคมถูกผลักดันให้เข้าไปอยู่วงจรของการแข่งขัน
ภายใต้การนำเสนอข่างของสื่อมวลชนผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย
และทุกคนสามารถรับรู้เหตุการณ์ความรุนแรงต่าง ๆ ได้พร้อมกันทั่วทั้งโลก
การศึกษาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการสลายความรุนแรงและความขัดแย้งดังกล่าว
ด้วยการหันหน้าเจรจาและเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
มีความรู้ความเข้าใจในมิติที่แตกต่างกันในด้านชาติพันธุ์ ศาสนา และความเป็นอยู่
4. การศึกษาเพื่อพัฒนามนุษยภาพ (Learning
to be) ได้แก่การพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
กล่าวคือเมื่อผู้เรียนจบการศึกษาไปแล้วเขาจะต้องเป็นอะไรที่มากกว่าเครื่อง
จักรในโรงงาน มากกว่าความเป็นแรงงานราคาถูก
และมากกว่าความเป็นทรัพยากรมนุษย์หรือสัตว์เศรษฐกิจ
นั่นก็คือการศึกษาต้องไม่กดคนให้ต่ำลงมีค่าเพียงทรัพยากรหรือเครื่องจักร ชิ้นหนึ่ง
แต่ต้องพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์เต็มตามศักยภาพในทุกมิติ
แท้ ที่จริงแล้วเสาหลักทางการศึกษาตามรายงานขององค์การยูเนสโกนี้
มิใช่เป็นเรื่องใหม่เลยสำหรับระบบการศึกษาไทย ทั้งนี้
หากเรามองย้อนไปถึงระบบการศึกษาของไทยในอดีตที่การศึกษาไทยยึดหลักการศึกษา
ตามแนวพระพุทธศาสนา จะพบว่าการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้ครบทั้ง 4
ด้านนี้ เป็นการศึกษาตามหลักพระพุทธศาสนากล่าว คือ
1. กายภาวนา คือ
การศึกษาเพื่อการพัฒนาทางด้านร่างกาย เพื่อให้มีทักษะในการใช้เครื่องมือ
อุปกรณ์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ตามแนวหัตถศึกษา
2. สีลภาวนา คือ การศึกษาเพื่อพัฒนาด้านสังคม
เพื่อปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้ อยู่ในสังคมได้ รู้จักบริหารจัดการที่ดี มีคุณธรรม
จริยธรรมตามแนวจริยศึกษา
3. จิตภาวนา คือ การศึกษาเพื่อพัฒนาทางจิต
เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ไม่ดูถูกตนเอง ไม่ดูถูกท้องถิ่น มีสุขภาพจิตดี
มีความสุขตามสมควรแก่ฐานะ จัดเป็นสุขศึกษาที่เน้นทั้งสุขกายและสุขใจ
4. ปัญญาภาวนา คือ การพัฒนาทางปัญญา
เพื่อให้มีอิสระทางความคิด ได้แก่การคิดเป็นตามหลักโยนิโสมนสิการ
แสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างต่อเนื่องทุกเวลา มีความรู้พอเพียงต่อการแก้ไขปัญหา
กล่าวคือการมีทักษะในการแก้ปัญหาชีวิต เทียบได้กับพุทธิศึกษา
ความคาดหวังอันจะเป็นพลังขับเคลื่อนสังคมไปสู่เป้าหมายดังกล่าวก็คือ “การศึกษา” ซึ่ง
เป็นกลไกสำคัญและจำเป็นที่สุด รากฐานของการศึกษาที่วางอยู่บนฐานที่ถูกต้องจึงเป็นปัจจัยหลักในการผลักดัน
สังคมให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จคืออุดมคติที่วางไว้ เมื่อพิจารณาระบบการศึกษาของ
สังคมไทยปัจจุบัน
จะพบว่ายังอยู่ห่างไกลจากจุดประสงค์ของการศึกษาดังกล่าว อันสืบเนื่องมาจาก
ความบกพร่องหรือความล้มเหลวทางการศึกษาหลายประการด้วยกันที่ปลูกฝังให้แก่ผู้ศึกษา
เช่น
เป้าหมายของการศึกษาคือความเป็นเลิศทางวิชาการ (เน้นความรู้แต่ขาดจริยธรรม) ความเชื่อ และ
ค่านิยม โดยเฉพาะเรื่องค่านิยมทางการศึกษาในสังคมไทยนั้น
ถือว่ามีความบกพร่องประสบความ
ล้มเหลว ถึงจุดที่จะต้องแก้ไข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น