1.แบบจำลองในการพัฒนาหลักสูตร มีองค์ประกอบเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ความเหมือนและความต่างของแบบจำลองต่างๆ
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรที่ได้อภิปรายมาแล้ว
เผยให้เห็นทั้งความเหมือนและความต่าง ไทเลอร์ บาทา และคนอื่นๆ
ได้กำหนดสังเขปลำดับขั้นตอนในการดำเนินการพัฒนาหลักสูตร ส่วนเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์
และลีวีส ได้เขียนแผนภูมิองค์ประกอบของกระบวนการพัฒนาหลักสูตร (การออกแบบ
การนำไปใช้ และการประเมินผล)
ในทางตรงกันข้ามกับการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติหลักสูตรหรือโดยไม่คำนึงถึงการกระทำที่ผู้ปฏิบัติหลักสูตรจะต้องทำ
(การวินิจฉัยความต้องการจำเป็น การกำหนดจุดประสงค์ และอื่นๆ)
มโนทัศน์เกี่ยวกับแหล่งข้อมูลและตะแกรงการกลั่นกรองเป็นสิ่งที่โดดเด่นในแบบจำลองของไทเลอร์
แบบจำลองทั้งหลายไม่ได้มีความสมบูรณ์เสมอไปไม่สามารถแสดงรายละเอียดและความผิดแผกแตกต่างเล็กๆ
น้อยๆ ทุกอย่างของกระบวนการที่ซับซ้อนเช่นเดียวกับการพัฒนาหลักสูตรได้
ในแง่มุมหนึ่งผู้ริเริ่มออกแบบจำลอง กล่าวว่าบางครั้งในเชิงของแบบกราฟิก “ลักษณะเหล่านี้เป็นลักษณะที่ไม่ควรลืม” ในการพรรณนารายละเอียดทุกๆอย่างของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรควรจะกำหนด
การวาดภาพที่สลับซับซ้อนมากๆ หรือให้มีแบบจำลองออกมาจำนวนมากๆ
ภาระงานอย่างหนึ่งในการสร้างแบบจำลองการปรับปรุงหลักสูตร
คือการตัดสินใจว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในกระบวนการ
ซึ่งไม่ได้เป็นภาระงานที่ง่าย
และจำกัดแบบจำลองให้อยู่ในกรอบขององค์ประกอบเหล่านั้น
ผู้สร้างแบบจำลองพบว่าตนเองอยู่ระหว่างอันตราย (หนีเสือปะจระเข้)
ของการทำให้เรียบง่ายเกินไป (Oversimplification) กับการทำให้ซับซ้อนและสับสน
เมื่อพิจารณาแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรที่หลากหลายแล้วเราไม่สามารถกล่าวได้ว่า
แบบจำลองแบบใดแบบหนึ่งมีความเหนือกว่าแบบจำลองอื่นๆ
ตัวอย่างเช่นผู้วางแผนหลักสูตรบางคนอาจจะใช้แบบจำลองของไทเลอร์มานานหลายปีและพิจารณาได้ว่าประสบความสำเร็จหรืออีกนัยหนึ่งความสำเร็จนี้มิได้หมายความว่าแบบจำลองของไทเลอร์เป็นตัวแทนที่ดีสุดสำหรับการปรับปรุงหลักสูตรหรือนักการศึกษาทุกคนพอใจกับแบบจำลองนี้
เมื่อมีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ถึงความซับซ้อนของธรรมชาติการพัฒนาหลักสูตรแล้วเป็นที่สังเกตว่าการปรับปรุงแบบจำลองที่เกิดขึ้นก่อนสามารถที่จะกระทำได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น